ReadyPlanet.com
dot
ค้นหาบทความ

dot
Editor Manual
dot
Basic Function
dot
เว็บไซต์รูปแบบ Responsive web design
Google Service/Sitemap
จัดการอีเมล์สมัครรับข่าวสาร
dot
Special Function
dot
ระบบผู้ช่วย
dot
Customer Support
dot
dot
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
dot
bulletจัดการเว็บไซต์
bulletระบบพื้นฐาน
bulletระบบเสริม
bulletบริการสมาชิก
bulletเทคนิคอื่นๆ
bulletText Editor
dot
EXAMPLE
dot
bulletจัดการแบบฟอร์มติดต่อกลับ


จัดการข้อมูลเมนูย่อยด้านข้างอย่างไรดี?

     เมนูย่อย คือ เมนูซึ่งแสดงผลด้านข้างของส่วนแสดงเนื้อหาเว็บไซต์  ช่วยแสดงผลหมวดหมู่สินค้า/บริการหลักของเว็บไซต์หรือกลุ่มบทความต่าง ๆ ให้เห็นเด่นชัด  หาง่าย  ด้วยรูปแบบการแสดงผลข้อมูลที่เรียงลงมาในแนวตั้ง ทำให้สามารถแสดงผลเมนูได้ค่อนข้างมาก  อีกทั้งแถบเมนูย่อยยังมีการแสดงผลรวมไปถึง พื้นที่แบนเนอร์ คือ เมนูสำหรับแสดงรูปภาพ นิยมใช้ในการผูกลิงก์ไปยังเว็บไซต์พันธมิตรอื่นๆ สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย  

ตัวอย่างการแสดงผลตำแหน่งของเมนูย่อย จากเว็บไซต์ www.magic-canvas.com

 


          เมนูย่อย จะแสดงผลอยู่ด้านซ้ายหรือขวาของเนื้อหาเว็บไซต์  ขึ้นอยู่กับเทมเพลตในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet ที่ท่านเลือกใช้งาน  และมีบางเทมเพลตที่ไม่แสดงเมนูย่อย  เช่น เทมเพลต ID : 180  และ  ID : 181  เป็นต้น
 

ตัวอย่างเทมเพลต
ที่มีเมนูย่อยแสดงผลด้านซ้าย

 

ตัวอย่างเทมเพลต
ที่มีเมนูย่อยแสดงผลด้านขวา

 

ตัวอย่างเทมเพลตที่มีไม่มีเมนูย่อย

 

 ประโยชน์ของเมนูย่อย

 สามารถสร้างลิงค์เพื่อแสดงผลเมนูที่สำคัญ หรือหมวดหมู่สินค้าที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น
 แสดงผลที่ตำแหน่งเดิมในทุกๆหน้า ไม่ว่าจะคลิกไปหน้าใดๆในเว็บไซต์ของท่าน
 สามารถสร้างลิงค์ในรูปแบบ Pulldown และ Multi Pulldown เพื่อแสดงผลหมวดหมู่ข้อมูลย่อยได้
 สามารถใส่แบนเนอร์ด้านข้างเพื่อโฆษณาหรือแลกลิงค์กับเว็บไซต์เพื่อนบ้านได้
 

 เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับแสดงผลที่ตำแหน่งเมนูย่อย

      นิยมแสดงผลหมวดหมู่ของสินค้าหรือกลุ่มบทความ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์ในส่วนเมนูย่อย เพราะเป็นส่วนที่เด่น สะดุดตาผู้เข้าชมเว็บไซต์  

     ตัวอย่างเช่น  เว็บไซต์ Cake2U เน้นการขายสินค้าออนไลน์เป็นเค้กประเภทต่าง ๆ ควรจะแสดงผลกลุ่มสินค้าจากระบบร้านค้าออนไลน์ Vela Commerce เป็นหลัก  และกลุ่มข้อมูลที่มีความสำคัญรองลงมา คือ กลุ่มบทความข่าวประชาสัมพันธ์ หรือกลุ่มสาระความรู้  แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความเหมาะสมในการแสดงผลไม่ให้เมนูย่อยมีจำนวนมากหรือน้อยเกินไปด้วย เป็นต้น
 

ตัวอย่างการแสดงผลหมวดหมู่สินค้าจากระบบร้านค้าออนไลน์ Vela Commerce ที่เมนูย่อย

 

 

       นอกจากนี้ บริเวณเมนูย่อยด้านข้าง ยังมีเมนู "พื้นที่แบนเนอร์" ซึ่งแสดงผลต่อจากส่วนของเมนูย่อย  เหมาะสมต่อการสร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์เพื่อนบ้านหรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งแบนเนอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย

 

 การแสดงผลของเมนูย่อยที่ดี ควรคำนึงถึง

  จำนวนเมนูที่แสดงผลที่เมนูย่อย  
      นอกจากการเน้นความสำคัญในการเลือกกลุ่มสินค้าและบริการมาแสดงผลที่เมนูย่อย  ควรดูถึงความเหมาะสมในด้านจำนวนของเมนูที่จะแสดงผลด้วย  แม้ว่าเมนูย่อยจะสามารถแสดงเมนูลงมาได้หลายสิบเมนู แต่ถ้าหากมีจำนวนมากเกินไป  อาจส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ยาวลงมามาก ไม่สะดวกในการดูข้อมูลได้ นอกจากนี้อาจทำให้การแสดงผลดูไม่สวยงามในบางหน้าที่มีเนื้อหาน้อยค่ะ

      ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างการแสดงผลเมนูย่อยด้านข้างและพื้นที่แบนเนอร์ที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาว เมื่อเปิดหน้าเว็บไซต์เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาน้อย ทำให้เกิดพื้นที่ว่างด้านล่างต่อจากส่วนเนื้อหาค่อนข้างมาก

  

  เลือกแสดงผลรูปแบบการเปิดหน้าเมื่อคลิกลิงค์
    
ในการสร้างเมนูย่อยแต่ละเมนู  จะมีตัวเลือกสำหรับตั้งค่าการเปิดหน้าเว็บหลังจากการคลิกลิงค์เมนูย่อย ให้ "เปิดหน้าต่างใหม่" (แสดงผลหน้าเว็บไซต์ที่คลิกลิงค์ขึ้นมาใหม่ โดยที่หน้าเว็บไซต์เดิมยังแสดงผลอยู่) หรือ "เปิดทับหน้าต่างเดิม" (แสดงผลหน้าเว็บไซต์ที่คลิกลิงค์แทนที่หน้าเว็บไซต์เดิม)  โดยมีหลักการเลือกใช้งาน ดังนี้


 

     ► เปิดหน้าต่างใหม่ ในกรณีที่ลิงค์ไปเว็บไซต์ภายนอก , URL อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเรา  เช่น เว็บไซต์ Cake2U.com มีการสร้างลิงค์ไป Oxygen.ReadyPlanet.com กรณีนี้ควรเลือกรูปแบบการเปิดหน้าเป็น เปิดหน้าต่างใหม่  เป็นต้น

ตัวอย่างแสดงผลเมื่อคลิกลิงค์  แล้วหน้าเว็บไซต์ปลายทางมีการเปิดหน้าต่างใหม่


     ► เปิดทับหน้าต่างเดิม  หากลิงค์ของหน้าเว็บไซต์ปลายทาง ยังเป็นหน้าที่แสดงผลภายในเว็บไซต์ของเรา เช่น Cake2U.com  สร้างลิงค์เมนูย่อยไปยังหมวดหมู่สินค้าเค้กผลไม้  โดย URL ของหน้าสินค้าหมวดเค้กผลไม้คือ www.Cake2U.com/fruitcake.html ซึ่งเป็นลิงค์ภายในเว็บไซต์  ควรเลือกรูปแบบการเปิดหน้าเว็บไซต์เป็น "เปิดทับหน้าต่างเดิม"  เป็นต้น


 การใช้รูปภาพแทนชื่อเมนู
      ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet มีฟังก์ชั่นการแสดงผลรูปภาพแทนชื่อเมนูย่อยได้  ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ทำให้เว็บไซต์มีความสวยงามและดึงดูดสายตาได้มากขึ้น  แต่หากรูปภาพที่ใช้แทนชื่อเมนูย่อยมีขนาดกว้างเกินไป จะส่งผลให้เกิดปัญหาหน้าเว็บไซต์ส่วนเนื้อหาขยายกว้างออกด้านข้างเกินกว่าภาพส่วนหัว  ทำให้หน้าเว็บไซต์ไม่สมส่วน  ดูไม่สวยงาม  จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและสมดุลในการใช้รูปภาพแทนชื่อเมนูย่อยด้วยค่ะ

ขนาดภาพแทนชื่อเมนูย่อยที่เหมาะสม ควรมีความกว้าง (Width) ไม่เกิน 200 pixels เป็นไฟล์ภาพนามสกุล .jpg/ .gif/ .png และตั้งชื่อไฟล์ภาพเป็นภาษาอังกฤษ หรือตัวเลขเท่านั้น

เพื่อให้แสดงผลได้สวยงามที่สุด รูปแบนเนอร์ควรมีขนาด เช่น

- 120 x 60 pixels
- 120 x 120 pixels
- 120 x 180 pixels
- 120 x 240 pixels
 

ตัวอย่างการแสดงผลการใส่รูปภาพแทนชื่อเมนูย่อย "ค้นหาสินค้า" ด้วยภาพที่มีความกว้างเกิน 200 pixels
ส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ส่วนเนื้อหาขยายกว้างเกินภาพส่วนหัว

 




วิธีใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet เบื้องต้น

เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป
วิธีการใส่รูปภาพในเนื้อหาของเว็บไซต์
วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงค์สำหรับดาวน์โหลด
วิธีสร้างลิงค์ให้กับข้อความและรูปภาพ
การเลือกรูปแบบเว็บไซต์(Template) และจัดโครงสร้างหน้าแรก(Layout)
เทคนิคการจัดการเมนูหลักที่สวยและดี
เลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
ข้อควรระวังในการทำเว็บไซต์และวิธีใส่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่ถูกต้องปลอดภัย article